ท้องฟ้าจำลองพระราชานุสรณ์พระจอมเกล้า จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ประวัติความเป็นมา
สถาบันราชภัฏพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้รับการจัดสรรเงินงบประมาณ
ประจำปี 2540 จำนวน 40 ล้านบาท เศษ ให้ดำเนินการ ก่อสร้างอาคารท้องฟ้าจำลอง พร้อมเครื่อง
ฉายดาว แต่เนื่องด้วยพิษของฟองสบู่เศรษฐกิจแตก การก่อสร้างได้ยืดเยื้อมาถึงเดือน กรกฏาคม
พ.ศ. 2542 สถาบันจึงรับมอบงานได้
ท้องฟ้าจำลองราชภัฏ (ชื่อที่จารึกลงในแผ่นศิลาฤกษ์ ) นับได้ว่าเป็นท้องฟ้าจำลองแห่งที่ 2 ของประเทศไทยรองจากท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ ฯ การที่ท้องฟ้าจำลองแห่งนี้ได้รับอนุมัติให้ก่อสร้าง
ได้ ส่วนหนึ่งคงเป็นผลสืบเนื่องจากโครงการ พัฒนาการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี
ในสถาบันราชภัฏทั่วประเทศทั้ง 36 แห่ง โครงการนี้กำหนดไว้ระหว่างปีงบประมาณ 2536-2544
โดยจัดตั้งศูนย์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีขึ้น
วัตถุประสงค์
ในสถาบันราชภัฏ มุ่งหวังที่จะพัฒนาการเรียนการสอน ส่งเสริมสนันสนุนงานวิจัยของนักศึกษา
อาจารย์ของสถาบัน พร้อม ๆ กับการพัฒนาปรับปรุง และเผยแพร่ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ที่เหมาะสมกับท้องถิ่น
รายละเอียดที่ตั้ง
ท้องฟ้าจำลองพระราชานุสรณ์พระจอมเกล้าฯ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
96 ถนนปรีดีพนมยงค์ ต.ประตูชัย อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา 13000 โทร.
0-3532-2076-9 ต่อ 5011 โทรสาร. 0-3524-5888
เรื่องที่จัดแสดง
เรื่อง | เดือน |
การดูดาวเบื้องต้น | มกราคม - กุมภาพันธ์ |
ปรากฏการณท้องฟ้า | มีนาคม - เมษายน |
ระบบสุริยะ | พฤษภาคม - มิถุนายน |
นิทานดาว | กรกฎาคม - สิงหาคม |
ศึกษากลุ่มดาวตามจักราศี | กันยายน - ตุลาคม |
กลุ่มดาวหน้าหนาว | พฤศจิกายน - ธันวาคม |
อุปกรณ์และเครื่องมือ
เครื่องฉายดาว
1. สามารถควบคุมการทำงานของเครื่องฉายหลัก (Main Projector) ได้ทั้งแบบอัตโนมัติด้วยคอมพิวเตอร์
และความคุมแบบธรรมดา (Manual) ซึ่งแบบอัตโนมัติจะควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์โดยสมบูรณ์เรียลไทม์
(Real Time) สั่งงานด้วยแป้นพิมพ์ เม้าส์ หรือจอแสดงผลแบบสัมผัส โดยจอแสดงผลจะต้องสามารแสดง
ข้อมูลของเครื่องฉายแต่ละเครื่อง โดยผู้ควบคุมสามารถควบคุมการฉายดาวได้ทั้งหมดโดยไม่ต้องละลาย
จากจอแสดงผล
2. สามารถฉายดาวฤกษ์ได้ไม่น้อยกว่า 3,900 ดวง และให้แสงสว่างไม่ต่ำกว่า 5.75 และสามารถปรับ
ความสว่างของดาวฤกษ์ที่สว่างมาก ๆ ได้
จอฉายดาว
- เป็นจอฉายดาวครึ่งวงกลม เส้นผ่าศูนย์กลางไม่ต่ำกว่า 28 ฟุต หรือ 8.4 เมตร
- พื้นผิวจอและโครงสร้างทำด้วยโลหะ
- สามารถติดตั้งเก้าอี้สำหรับผู้เข้าชมได้ 50 ตัว
เครื่องฉายดาว Ziess ZKP-3 ควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์
ติดตั้งบนฐานไฮดรอลิค ปรับสูงต่ำได้ ระบบเสียงไฮไฟรอบทิศ เก้าอี้ปรับเอนได้ 50 ที่นั่ง
วันเวลาที่จัดแสดง
เปิดแสดงวันละ 2 รอบ
เวลา 11.00 – 11.45 น. เวลา 14.00 – 14.45 น.
หยุดเฉพาะวันจันทร์และวันนักขัตฤกษ์
หมายเหตุ สำหรับเข้าชมเป็นหมู่คณะตั้งแต่ 30 คนขึ้นไปสามารถจองรอบพิเศษได้
ภาพบรรยากาศภายใน
หลังจากที่ได้ไปชมท้องฟ้าจำลอง ทำให้ได้รับความรู้มากมายที่เกี่ยวกับเรื่องราวของดาว
ดาราศาสตร์ ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของเรา เช่น ทางด้านโหราศาสตร์ ต้องใช้
ดวงดาวเป็นเกณฑ์ในการทำนาย นอกจากนี้ยังได้เรียนรู้ถึงสิ่งที่เราไม่สามารถสัมผัสได้ เช่น
อวกาศ หรือ ดวงดาว นิทรรศการภายนอกห้องดูดาวยังมีความรู้เกี่ยวกับดวงดาวต่างๆ ปรากฏการณ์ต่างๆ
เนื้อหาเรื่อง ดวงดาว ดาราศาสตร์ และอวกาศ อยู่ในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สามารถใช้สอนตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษา มัธยมศึกษา รวมถึงในระดับมหาวิทยาลัย อีกทั้งยังสามารถสอนเด็กได้เกี่ยวกับความรู้รอบตัว เช่น การกำเนิดโลก ดาวเคราะห์ และปรากฏการณ์ต่างๆ ที่มาตำนานของดาวสามารถนำไปเล่าเป็นนิทานให้กับเด็กในระดับชั้นอนุบาลฟังได้
หลักฐานภาพถ่าย
ข้อเสนอแนะ
ควรมีการเพิ่มรอบในการแสดง ให้จากวันละ 2 รอบ เป็น วันละ 4-5 รอบ