วันพฤหัสบดีที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2555

สื่อการสอนในโรงเรียน

สังเกตการใช้สื่อในการเรียนการสอน

วิชาชีววิทยา

โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา


ประวัติโรงเรียน

          โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา  เดิมชื่อ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 
ถือกำเนิดขึ้น ตามแผนการศึกษาชาติพุทธศักราช 2479 ซึ่งแบ่งการศึกษาออกเป็น 2สาย คือ
สายสามัญศึกษา และสายอาชีวศึกษาและกำหนดให้ผู้ประสงค์จะเข้าเรียนในชั้นอุดมศึกษาต้อง
เรียนชั้นเตรียมอุดมศึกษาก่อนเป็นเวลา 2 ปี
                         ดังนั้นสภามหาวิทยาลัยจึงได้ลงมติให้จัดตั้งโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ
                 มหาวิทยาลัย  มื่อวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2480  และอนุญาตให้ใช้ “พระเกี้ยว” เป็นสัญลักษณ์
                 ประจำโรงเรียน     โดยใช้สถานที่ของโรงเรียนมัธยมหอวัง ถนนพญาไท เป็นที่ตั้ง  และแต่งตั้ง
                ให้  ฯพณฯ ศ.ม.ล.ปิ่น  มาลากุล  เป็นผู้อำนวยการคนแรก เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2480  เปิดเรียนวันแรก
                เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2481  และนักเรียนเริ่มเรียนตามตารางสอน เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม
                พ.ศ. 2481 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ตั้งอยู่เลขที่ 227 ถนนพญาไท แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน
            กรุงเทพมหานคร

                  













สื่อการเรียนการสอนที่ใช้ในโรงเรียน



หนังสือเล่มเป็นหนังสือที่นักเรียนโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาต้องใช้ในการเรียน

การสอนในรายวิชา  ชีววิทยา เป็นหนังสือที่โรงเรียนจัดทำขึ้นเอง  โดยอ้างอิง

กรอบจากหนังสือของ สสวท. ซึ่งรายละเอียดเนื้อหาในหนังสือจะเจาะลึกใน

ประเด็นต่างๆ มากกว่าหนังสือโดยทั่วไป  เพื่อให้เด็กนักเรียนไว้ใช้ในการสอบ

แข่งขันในระดับต่างๆ

สื่อการเรียนการสอนทั่วไป

ปกติอาจารย์จะเลือกใช้สื่อในการเรียนการสอนแตกต่างกันออกไป  แล้วแต่เนื้อหา

ที่เรียนในเรื่องนั้นๆ  วันที่ไปสังเกตการสอนอาจารย์ได้ใช้สื่อในการสอน คือ

POWER POINT  สอนเรื่องการจัดหมวดหมู่ของสิ่งมีชีวิต หรืออนุกรมวิธาน  พร้อม

กับหนังสือเรียนเล่มดังกล่าวข้างต้น  อาจารย์อธิบายให้ฟังว่า  ธรรมชาติของเด็กที่นี่

จะชอบการฟังบรรยายจากอาจารย์ผู้สอนหน้าห้อง  แล้วจดเนื้อหาตามอาจารย์บอก

เด็กจะไม่ชอบทำงานเป็นกลุ่ม  ไม่ชอบทำกิจกรรมระหว่างเรียน  สื่อการเรียนการสอน

นอกเหนือจากนี้ก็จะมีการเรียนรู้จากของจริง  เช่น การนำของจริงมาให้ดู  การให้เด็กไป

เยี่ยมชมพิพิธพันธ์ต่างๆ เช่น Siam Ocean World  หรือมีการทำกิจกรรมกลุ่มบ้างตาม

ความเหมาะสมของเวลา

                         



ประโยชน์ที่ได้จากการเรียนของนักเรียนโดยใช้สื่อ  POWER POINT

1.  นักเรียนได้รับความรู้เนื้อหาจากการบรรยายอย่างเต็มที่
2.  ประหยัดเวลาในการสอนของอาจารย์ผู้สอน  เนื้อจากเนื้อหามีมาก
3.  นักเรียนให้ความสนใจ  เนื่องจากสไลด์ของอาจารย์ค่อนข้างดึงดูด

ข้อเสียของการใช้สื่อ  POWER POINT

1.  นักเรียนไม่มีส่วนร่วมในการเรียนการสอน
2.  นักเรียนที่นั่งอยู่หลังห้องค่อนข้างลำบาก  เพราะถูกบังจากเพื่อนข้างหน้า
3.  นักเรียนบางคนไม่ค่อยสนใจฟังอาจารย์  เพราะห่วงจดเนื้อหาในสื่อ




ขอขอบคุณคณะอาจารย์หมวดวิทยาศาสตร์  โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา

เป็นอย่างมากที่ให้พวกเราได้เข้าร่วมการใช้สื่อในการเรียนการสอน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น