วันอาทิตย์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2555

แหล่งเรียนรู้วิทยาศาสตร์

แหล่งเรียนรู้วิทยาศาสตร์

ท้องฟ้าจำลองพระราชานุสรณ์พระจอมเกล้า  จังหวัดพระนครศรีอยุธยา




ประวัติความเป็นมา

          สถาบันราชภัฏพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้รับการจัดสรรเงินงบประมาณ
ประจำปี 2540 จำนวน 40 ล้านบาท เศษ ให้ดำเนินการ ก่อสร้างอาคารท้องฟ้าจำลอง พร้อมเครื่อง
ฉายดาว แต่เนื่องด้วยพิษของฟองสบู่เศรษฐกิจแตก การก่อสร้างได้ยืดเยื้อมาถึงเดือน กรกฏาคม
พ.ศ. 2542 สถาบันจึงรับมอบงานได้
        ท้องฟ้าจำลองราชภัฏ (ชื่อที่จารึกลงในแผ่นศิลาฤกษ์ ) นับได้ว่าเป็นท้องฟ้าจำลองแห่งที่ 2
ของประเทศไทยรองจากท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ ฯ การที่ท้องฟ้าจำลองแห่งนี้ได้รับอนุมัติให้ก่อสร้าง
ได้ ส่วนหนึ่งคงเป็นผลสืบเนื่องจากโครงการ พัฒนาการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี
ในสถาบันราชภัฏทั่วประเทศทั้ง 36 แห่ง โครงการนี้กำหนดไว้ระหว่างปีงบประมาณ 2536-2544
โดยจัดตั้งศูนย์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีขึ้น

วัตถุประสงค์

        ในสถาบันราชภัฏ มุ่งหวังที่จะพัฒนาการเรียนการสอน ส่งเสริมสนันสนุนงานวิจัยของนักศึกษา
อาจารย์ของสถาบัน พร้อม ๆ กับการพัฒนาปรับปรุง และเผยแพร่ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ที่เหมาะสมกับท้องถิ่น

รายละเอียดที่ตั้ง

        ท้องฟ้าจำลองพระราชานุสรณ์พระจอมเกล้าฯ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
96 ถนนปรีดีพนมยงค์ ต.ประตูชัย อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา 13000 โทร.
0-3532-2076-9 ต่อ 5011 โทรสาร. 0-3524-5888

เรื่องที่จัดแสดง

 
               เรื่อง                เดือน
           การดูดาวเบื้องต้น            มกราคม - กุมภาพันธ์
           ปรากฏการณท้องฟ้า            มีนาคม - เมษายน
           ระบบสุริยะ            พฤษภาคม - มิถุนายน
           นิทานดาว            กรกฎาคม - สิงหาคม
           ศึกษากลุ่มดาวตามจักราศี            กันยายน - ตุลาคม
           กลุ่มดาวหน้าหนาว            พฤศจิกายน - ธันวาคม


อุปกรณ์และเครื่องมือ

เครื่องฉายดาว
1.       สามารถควบคุมการทำงานของเครื่องฉายหลัก (Main Projector) ได้ทั้งแบบอัตโนมัติด้วยคอมพิวเตอร์
และความคุมแบบธรรมดา (Manual) ซึ่งแบบอัตโนมัติจะควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์โดยสมบูรณ์เรียลไทม์
(Real Time) สั่งงานด้วยแป้นพิมพ์ เม้าส์ หรือจอแสดงผลแบบสัมผัส โดยจอแสดงผลจะต้องสามารแสดง
ข้อมูลของเครื่องฉายแต่ละเครื่อง โดยผู้ควบคุมสามารถควบคุมการฉายดาวได้ทั้งหมดโดยไม่ต้องละลาย
จากจอแสดงผล
2.       สามารถฉายดาวฤกษ์ได้ไม่น้อยกว่า 3,900 ดวง และให้แสงสว่างไม่ต่ำกว่า 5.75 และสามารถปรับ
ความสว่างของดาวฤกษ์ที่สว่างมาก ๆ ได้ 

จอฉายดาว
  1. เป็นจอฉายดาวครึ่งวงกลม เส้นผ่าศูนย์กลางไม่ต่ำกว่า 28 ฟุต หรือ 8.4  เมตร
  2. พื้นผิวจอและโครงสร้างทำด้วยโลหะ
  3. สามารถติดตั้งเก้าอี้สำหรับผู้เข้าชมได้ 50 ตัว


เครื่องฉายดาว Ziess ZKP-3 ควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์
ติดตั้งบนฐานไฮดรอลิค ปรับสูงต่ำได้ ระบบเสียงไฮไฟรอบทิศ เก้าอี้ปรับเอนได้ 50 ที่นั่ง

วันเวลาที่จัดแสดง

                                                                เปิดแสดงวันละ 2 รอบ                        
                                                เวลา 11.00 – 11.45 น.               
                                                เวลา 14.00 – 14.45 น.                                  
                                      หยุดเฉพาะวันจันทร์และวันนักขัตฤกษ์
                                 หมายเหตุ สำหรับเข้าชมเป็นหมู่คณะตั้งแต่  30 คนขึ้นไปสามารถจองรอบพิเศษได้

ภาพบรรยากาศภายใน








สิ่งที่ได้รับจากการชมนิทรรศการ

         หลังจากที่ได้ไปชมท้องฟ้าจำลอง  ทำให้ได้รับความรู้มากมายที่เกี่ยวกับเรื่องราวของดาว
ดาราศาสตร์  ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของเรา เช่น ทางด้านโหราศาสตร์ ต้องใช้
ดวงดาวเป็นเกณฑ์ในการทำนาย  นอกจากนี้ยังได้เรียนรู้ถึงสิ่งที่เราไม่สามารถสัมผัสได้ เช่น
อวกาศ หรือ ดวงดาว  นิทรรศการภายนอกห้องดูดาวยังมีความรู้เกี่ยวกับดวงดาวต่างๆ ปรากฏการณ์ต่างๆ

การนำไปใช้ในการเรียนการสอน
  
         เนื้อหาเรื่อง ดวงดาว  ดาราศาสตร์  และอวกาศ  อยู่ในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  สามารถใช้สอนตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษา มัธยมศึกษา  รวมถึงในระดับมหาวิทยาลัย อีกทั้งยังสามารถสอนเด็กได้เกี่ยวกับความรู้รอบตัว เช่น การกำเนิดโลก ดาวเคราะห์  และปรากฏการณ์ต่างๆ ที่มาตำนานของดาวสามารถนำไปเล่าเป็นนิทานให้กับเด็กในระดับชั้นอนุบาลฟังได้

หลักฐานภาพถ่าย

ข้อเสนอแนะ

ควรมีการเพิ่มรอบในการแสดง ให้จากวันละ 2 รอบ เป็น วันละ 4-5 รอบ

13 ความคิดเห็น:

  1. น่าสนใจมาก คิดว่าจะมีท้องฟ้าจำลองที่กรุงเทพที่เดียวซะอีก อยู่ไม่ไกลมาก ต้องลองเปลี่ยนบรรยากาศไปศึกษาบ้างแล้ว ได้ประโยชน์มากๆ

    ตอบลบ
  2. ไม่รู้เลยอ่ะว่ามีที่นี่ด้วย 0.0 ภูรีได้เพิ่มแหล่งเรียนรู้อีกทีนึงแล้ว ^0^//

    ตอบลบ
  3. เป็นการเรียนรู้ที่น่าสนใจมากค่ะไม่คิดเหมือนกันว่าจะมีท้องฟ้าจำลองอีกที่นอกจากกรุงเทพ

    ตอบลบ
  4. เป็นแหล่งเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่ดีแห่งหนึ่ง

    ตอบลบ
  5. จังหวัดพระนครศรีอยุธยาก็มีท้องฟ้าจำลอง หลายๆ คนอาจไม่เคยรู้ :)

    ตอบลบ
  6. วู๊ววว เพิ่งรู้ว่ามี เจ๋งมากกกก

    ตอบลบ
  7. คือ ไม่เคยทารบมาก่อนเลยว่า มีท้องฟ้าจำลองที่อยุธยาด้วย....

    ตอบลบ
  8. ส่วนของนิทรรศการมีเยอะมั๊ย

    ตอบลบ
  9. นั่นสิ ไม่เคยรู้เลยนะเนี่ยว่าที่อยุธยาก็มีท้องฟ้าจำลองด้วย

    ตอบลบ
  10. พาผมไปเที่ยวด้วยดิ

    ตอบลบ
  11. เหมาะกับการเรียนดาราศาสตร์ดีมาก น่าจะเข้าใจมากขึ้น

    ตอบลบ
  12. Megaslot ทดลอง เล่น สล็อต ฟรี จากค่ายเกมชื่อดังที่เราเลือกมาให้ลูกค้าทุกคนได้เลือกเล่นเกมสล็อตออนไลน์ที่ดีที่สุด ที่เหมาะกับคนคนนั้น จะได้เล่นเกมที่ถูกใจ และได้รับกำไรจากการเล่น MEGA SLOT

    ตอบลบ
  13. PG Slot Asia เกมส์สล็อตพีจีออนไลน์ โดยตรงเว็บไซต์ใหม่ ฝากถอนโอนไวดูแลตลอดการเล่นเกมของลูกค้ารับโบนัสกับslot asia เล่นง่ายจ่ายเร็ว PG SLOT เว็บไซต์พวกเราเหมาะสมที่สุดในประเทศ

    ตอบลบ